การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2566

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์การแพร่ระบาดโรคระบาดโควิด- 19 การปรับตัวของคนหลากหลายอาชีพโดยเฉพาะแวดวงการศึกษาต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงบนหลักการปรับตัวในยุค Disruption การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวมให้ดีขึ้น จึงไม่น่าแปลกที่ทุกองค์การทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ต่างเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษา ในระดับโลก องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหัสวรรษ 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 4 ว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคนและยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทย ที่ว่า”ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”  การวิจัยจึงเป็นพลังที่สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ช่วยส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเป็นผู้นำด้านวิจัยและบริการวิชาการสู่สังคม อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา การศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีสถาบันวิจัยญาณสังวรและวารสารแสงอีสาน เป็นกลไกในการส่งเสริมวิจัยให้มีคุณภาพบนพื้นฐานของปรัชญามหาวิทยาลัยที่ว่า “ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”

          ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาสู่สาธารณชนทั้งในระดับชาติรวมถึงการผลิตงานทางวิชาการ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ และมีงานวิจัย บทความวิชาการ ด้านพุทธศาสนาและปรัชญา ด้านรัฐศาสตร์/การปกครอง/รัฐประศาสนศาสตร์ ด้านการสอนภาษาไทย ด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และด้านการสอนสังคมศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์การศึกษา สังคม และการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก ให้กว้างขวางรวมทั้งการบูรณาการศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้เผยแพร่ผลงานวิจัย         
2.  เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานงานวิจัยและการค้นคว้าอิสระไปสู่องค์ความรู้ใหม่         
3.  เพื่อให้นักศึกษาคณาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น         
4.  เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน  สังคม และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 

ผลการพิจารณา

ผลการพิจารณา จะแจ้งผลให้ทราบทาง E-mail และโทรติดต่อเป็นรายบุคคล:The university will inform the result by Email or Calling. (กรุณาระบุเบอร์โทรและ Email ชัดเจน Please write Clear and Correct Phone number and Email Address)

กลุ่ม

– กลุ่ม การบริหารการศึกษา/ภาวะผู้นำ (ห้อง 5102 ชั้น 1 อาคารเรียนและหอสมุด )
– กลุ่ม พระพุทธศาสนา/ปรัชญาและศาสนา (ห้อง 311 ชั้น 1 อาคารหลวงปู่บุญเพ็ง )
– กลุ่ม รัฐศาสตร์/การปกครอง/รัฐประศาสนศาสตร์ (ห้อง 412 ประชุมย่อย สิรินธร )
– กลุ่ม การสอนภาษาไทย/การสอนสังคมศึกษา (ห้อง 5205 ชั้น 2 อาคารเรียนฯ)

กำหนดการ

การลงทะเบียนบทความและการส่งบทความ

ผู้นำเสนอผลงานสามารถส่งไฟล์บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์(แนบไฟล์) ความยาวไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ A4 ใน ทั้งนี้นับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก จัดพิมพ์ด้วยแบบอักษร TH Sarabun PSk ขนาด 16 สำหรับภาษาไทย และ Times New Roman ขนาด12 สำหรับภาษาอังกฤษ (Attached word file) โดยจัดรูปแบบให้เรียบร้อยตามที่กำหนด หากไม่ทำตามรูปแบบที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณา ส่งมาที่ Email: piakealexander@yahoo.com

อัตราค่าลงทะเบียนและนำเสนอ

โดยอัตรานี้รวมถึงเอกสารรวมบทคัดย่อ รายงานการประชุมวิชาการ (Proceedings) เอกสารอื่น ๆ อาหารว่าง และอาหารกลางวัน 

        * สำหรับผู้นำเสนอบทความวิจัย เมื่อส่งบทความวิจัยฉบับแก้ไขสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ให้ชำระเงินผ่าน ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เลขที่บัญชี 405 -6-06481-4  สาขา ขอนแก่น ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2566

        **สำหรับผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาให้แจ้งชื่อ-นามสกุล ที่ Email: piakealexander@yahoo.com และให้ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เลขที่บัญชี 405 -6-06481-4 สาขา ขอนแก่น ชำระเงินภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้วกรุณาส่งสำเนาการชำระเงินมา Scan แล้วส่ง e-mail มาที่ piakealexander@yahoo.com ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 085 – 4082638,097-9789505

รูปแบบการนำเสนอ

ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานวิทยานิพนธ์และผลงานวิจัย ระดับปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท นักวิจัยอิสระ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
รูปแบบการนำเสนอผลงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) และการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster Presentation)
การนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) อาจนำเสนอด้วย PowerPoint หรือ slide
และใช้เวลาในการนำเสนอเรื่องละ 15 นาที (รวมเวลาถาม – ตอบ)
การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ กำหนดรายละเอียดดังนี้
(1) ให้ผู้นำเสนอจัดทำโปสเตอร์ขนาด 80×120 เซนติเมตร(แนวตั้ง) จำนวน 1 แผ่น ขนาดตัวอักษรในโปสเตอร์ ให้ใช้ขนาดไม่เล็กกว่า 0.5 ซม. สามารถอ่านได้ชัดเจนในระยะห่าง 1 เมตร และผู้นำเสนอต้องจัดทำโปสเตอร์มาด้วยตนเอง เพื่อติดในสถานที่ ที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมให้ก่อนเวลาเริ่มงาน อย่างน้อย 30 นาที
(2) ใส่ชื่อ-นามสกุล ชื่อสถาบัน และรูปของผู้นำเสนอผลงานที่มุมขวาด้านล่างของโปสเตอร์
(3) เนื้อหาในโปสเตอร์ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย ข้อสรุป รายการอ้างอิง(โดยเลือกเฉพาะการอ้างอิงที่ปรากฏในโปสเตอร์เท่านั้น) โดยเนื้อหาควรมีรายละเอียดมากกว่าในบทคัดย่อ (ต้องไม่ใช่การนำบทคัดย่อมาขยายขนาด)
(4) ผู้นำเสนอด้วยโปสเตอร์ ต้องยืนประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดให้
(5) ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอ สามารถเสนอด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ