หลักการและเหตุผล ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด -19 การปรับตัวของคนหลากหลายอาชีพโดยเฉพาะแวดวงการศึกษาต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงบนหลักการปรับตัวในยุค Disruption การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวมให้ดีขึ้น ทุกองค์การทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น จึงตระหนักเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษา ในระดับโลก องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหัสวรรษ 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 4 ว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนา เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทย ที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การวิจัยจึงเป็นพลังที่สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ช่วยส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่าง ๆ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเป็นผู้นำด้านวิจัยและบริการวิชาการสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา การศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้แบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มที่ …
การประชุมวิชาการและการนำเสนอบทความวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 Read More »